หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

10 อันดับศิลปะการต่อสู้

10 อันดับ ศิลปะการต่อสู้ ที่ร้ายกาจที่สุดในเอเชีย
 
อันดับที่ 1. มวยไทย
          มวย ไทยเป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวที่สามารถนำไปใช้ได้ทั้งในเชิงกีฬาและ การต่อสู้จริง ๆ ศิลปะประเภทนี้มีมาตั้งแต่โบราณกาลบรรพบุรุษของชาติไทยได้ฝึกฝนอบรมสั่ง สอนกุลบุตรไว้เพื่อป้องกันตัวและ ป้องกันชาติ บรรดาชายฉกรรจ์ของไทยได้รับการ ฝึกฝนวิชามวยไทยแทบทุกคน นักรบผู้กระเดื่องนามทุกคนต้องได้รับการฝึกฝนอบรมศิลปะประเภทนี้อย่างชัดเจน ทั้งสิ้น เพราะการใช้อาวุธรบในสมัยโบราณเช่น กระบี่ พลอง ดาบ ง้าว ทวน ฯลฯ ถ้ามีความรู้วิชามวยไทยประกอบด้วยแล้ว จะทำให้เกิด ประโยชน์มากที่ สุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่เข้าสู้ติดพันประชิดตัวก็จะได้อาศัยใช้อวัยวะ บาง ส่วนเข้าช่วย เช่น เข่า เท้า ศอก เป็นต้น แต่เดิมมาศิลปะมวยไทยที่มีชั้นเชิงสูงมักจะฝึกสอนกันในบรรดาเจ้านายชั้น ผู้ใหญ่หรือเฉพาะพระมหากษัตริย์และขุนนาง ฝ่ายทหารเท่านั้น ต่อมาจึงได้แพร่หลายไปถึงสามัญชน ซึ่งได้รับการถ่ายทอดวิทยาการจากบรรดาอาจารย์ ซึ่งเดิมเป็นยอดขุนพล หรือนักรบมาแล้ว วิทยาการจึงได้แพร่หลายและคงอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้
อันดับที่ 2. มวยเตะ ( KICK BOXING )
          คิก บ๊อกซิ่งเป็นกีฬาที่ใช้ศิลปะการป้องกันตัวแบบการชกมวยทั่วไปแต่สามารถ ใช้เท้าเตะได้ด้วย คิกบ๊อกซิ่งเป็นกีฬามวยที่ใช้อวัยวะได้ทุส่วน โดยนักกีฬาเน้นการใช้อุปกรณ์ป้องกันอวัยวะและใส่อุปกรณ์นั้นเวลาแข่งขัน เช่น นักกีฬาชายใส่กางเกงนักมวย ไม่ใส่เสื้อแต่มีอุปกรณ์ป้องกัน ที่แก พันมือ นวมชกมวย เครื่องสวมศีรษะ เป็นต้นมักมีการสับสนระหว่าคิกบ๊อกซิ่งและมวยไทยกีฬาทั้งสองเป็นการชกมวย เช่นกัน เเต่มีความแตกต่างที่มวยไทยสามารถเตะใต้เข็มขัดได้ สามารถใช้ศอกและเข่าในการเอาชนะคู่ต่อสู้ได้ แต่คิกบ๊อกซิ่ง ไม่สามารถใช้ได้
   
อันดับที่ 3. คูราช (Kurash)
           คู ราช (Kurash) เป็น กีฬาพื้นบ้านของอุซเบกิสถาน ที่ได้มีการปรับปรุงรูปแบบการเล่นให้เป็นแบบสากลหลักการพื้นฐานของกีฬาชนิด นี้มีลักษณะผสมผสานระหว่างมวยปล้ำกับยูโด โดยแบ่งผู้แข่งขันเป็น 2 ฝ่าย สู้กันบนเวทีสี่เหลี่ยมจตุรัสขนาด 15 x 15 เมตร คู่ต่อสู้จะต้องทุ่มอีกฝ่ายหนึ่งให้ล้มลงกับพื้นให้ได้ภายในเวลา 4 นาที สำหรับผู้ชาย และ 3 นาทีสำหรับผู้หญิง การให้คะแนน แบ่งเป็น * คาลาล ทุ่มคู่ต่อสู้ลงให้หลังแนบพื้นโดยสมบูรณ์ ผู้ที่ทำได้จะชนะทันที * ยอนบอส ทุ่มแล้วสีข้างหรือด้านข้างลำตัวของคู่ต่อสู้แนบพื้นอย่างสมบูรณ์ จะได้ 1 คะแนน หากทำคะแนนแบบยอยบอสได้ 2 ครั้งจะเท่ากับ 1 คาลาล ถือว่าชนะทันที * ชาล่า ทุ่มแล้วทำให้ก้นหรือหลังหรือท้องหรือสีข้างกระทบพื้นแต่ไม่สมบูรณ์ คะแนนแบบชาล่าไม่ทำให้การแข่งขันยุติ แต่จะใช้ตัดสินเมื่อหมดเวลา
 
อันดับที่ 4. ยูโด (Judo)
          ยูโด (Judo) เป็นศิลปะการป้องกันตัวประเภทหนึ่งที่ถือกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีมาแต่ดึกดำบรรพ์ ปัจจุบันมีผู้นิยมฝึกหัดเล่นกันอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก ยูโดเป็นรูปแบบของการป้องกันตัวเป็นศิลปะส่วนหนึ่งของชาวญี่ปุ่นที่มีการดัด แปลงปรับปรุงแก้ไขให้ทันสมัย นอกจากจะเป็นการฝึกเพื่อป้องกันตัวเองแล้วยังเป็น การบริหารร่างกาย เพื่อให้ เกิดความแข็งแรง ฝึกสมาธิให้มั่นคง ผู้ฝึกจะได้รับประโยชน์ทั้งด้านร่างกาย และสมาธิด้านจิตใจอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการจู่โจมคู่ต่อสู้ หรือการตั้งรับ ยูโดมีชื่อเต็มว่า โคโดกัน ยูโด (Kodokan Judo) เดิมทีเดียวเรียกกันว่า ยูยิตสู (Jiujitsu) ซึ่งเป็นวิชาที่สามารถต่อสู้กับคู่ต่อสู้ที่มีอาวุธด้วยมือเปล่าและเป็นการ ทำลายจุดอ่อนของคู่ต่อสู้
 
อันดับที่ 5. เทควันโด
          แต่ เดิมสมาคมเทควันโดแห่งสาธารณรัฐเกาหลีได้ดำเนินการสนับสนุนให้เทควันโด แพร่หลายไปทั่วโลก มีการจัดตั้งสมาคมเทควันโดขึ้นในประเทศต่างๆ มีการพัฒนารูปแบบการฝึกออกไปมากมายทำให้ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกันจนกระทั่ง  พ.ศ. 2515 ก่อตั้งสหพันธ์เทควันโด ( The World Taekwondo Federation : WTF) ที่ทำการใหญ่อยู่ที่สำนักคุกคิวอน กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ประธานสหพันธ์คนแรก คือ ดร. ยุน ยอง คิม  พ.ศ. 2516 การแข่งขันกีฬาเทควันโดโลกครั้งแรก และจัดเป็นประจำทุกๆ 2 ปี พ.ศ. 2529 บรรจุกีฬาเทควันโดในเอเชี่ยนเกมส์  พ.ศ. 2531 บรรจุกีฬาเทควันโดในกีฬาโอลิมปิก พ.ศ. 2510 เปิดสอนเทควันโดในประเทศไทยที่วายเอ็มซีเอ ราชกรีฑาสโมสรกรุงเทพฯ ในฐานทัพทหารสหรัฐอเมริกาที่ตาคลี นครราชสีมา อุดรธานี อุบลราชธานีและสัตหีบ  พ.ศ. 2516 เปิดสอนเทควันโดที่ราชกรีฑาสโมสร พ.ศ. 2519 เปิดสำนักขึ้นที่โรงเรียนศิลปป้องกันตัวอาภัสสา ถนนเพลินจิต  พ.ศ. 2521 ก่อตั้งสมาคมส่งเสริมศิลปป้องกันตัวเทควันโด ณ โรงเรียนอาภัสสา โดยมีนายสรยุทธ ปัทมินทร์วิโรจน์ เป็นนายกสมาคมฯคนแรก ต่อมาสมาคมฯ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สมาคมเทควันโดแห่งประเทศไทย
 
อันดับที่ 6. คาราเต้
          คาราเต้ เป็นศิลปะป้องกันตัวที่พัฒนามาจากศิลปะการต่อสู้ของชาวญี่ปุ่นใน หมู่เกาะริวกัว และจากทักษะการต่อสู้แบบจีน หรือมวยได้คาราเต้เป็นวิถีเเห่งการดึงพลังจากส่วนต่างๆ ของร่างกายมารวมให้เป็นหนึ่งในการต่อสู้โจมตี เช่น หมัดเข่า ศอก โดยใช้มือ เปล่า ปราศจากอาวุธ แต่เป็นการใช้เทคนิคในการสร้างพลังมือเปล่าแทนอาวุธและโล่ห์ การฝึกหัดคาราเต้บางสำนักอาจมีท่าพื้นฐาน ท่าต่อสู้ หรือท่ารำเเตกต่างกันไป เช่น การหน่วงเหนี่ยว การปล้ำ การผลัก การจับยึด
 
อันดับที่ 7. ยูยิตสู
          ยู ยิสสู ในภาษาญี่ปุ่นมีความหมายว่า ศิลปะแห่งความอ่อน เป็นชื่อเรียกของศิลปะการต่อสู้ของญี่ปุ่น โดยบางครั้งอาจจะถูกเรียกด้วยชื่ออื่น ๆ เช่น ยาวารา (yawara) , ไทจุสสุ (taijutsu) ประวัติที่มาของยูยิสสูนั้นไม่ชัดแจ้ง โดยมากกล่าวกันว่าถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงยุคของสงครามสมัย ระหว่างศตวรรษที่ 8 ถึง 16 เนื่อง จากเป็นยุคสมัยสงครามทำให้เกิดวิชาใหม่ ๆ ขึ้นมาจำนวนมาก ในอดีตประเทศญี่ปุ่นมีสำนักยูยิสสูอยู่หลายร้อยสำนัก โดยแต่ละสำนักมีแนวทางในการฝึกของตัวเอง โดยมากจะรับอิทธิพลมาจากศิลปะการต่อสู้โบราญของซามูไรที่เรียกกันว่า ไทจุสสุ ซึ่งหมายถึงศิลปะการใช้ร่างกาย โดยยูยิสสูนั้นเป็นชื่อเรียกกลางที่ใช้เรียก ศิลปะการต่อสู้มือเปล่าอีกชนิดหนึ่งนั่นเอง
 
อันดับที่ 8. มวยจีน ( ไทเก๊ก, วูซู, กังฟู )
          วู ซู มาจากภาษาจีนกลางว่า "อู่ซู่" หรือที่คนไทยรู้จักกันในนามของ "กังฟู" คือ วิชาว่าด้วยการใช้เทคนิค ในการเข้าปะทะต่อสู้เป็นสาระสำคัญ มีรูปแบบการร่ายกระบวนยุทธ และชั้นเชิงต่อสู้เป็หลักในการฝึก ทั้ง มีหลักศิลปะกายบริหารที่สืบทอดกันมา โดยมุ่งเน้นการประสานพลังภายในและภายนอก อันเป็นจุดเด่นของ วิทยาการวูซู
 
อันดับที่ 9. ปันจักสีลัต
          ปัน จักสีลัต (Pencak Silat) เป็นคำที่มาจากภาษาอินโดนีเซียมาจากคำว่า ปันจัก (Pencak) หมายถึงการป้องกันตนเอง และคำว่า สีลัต (Silat) หมายถึงศิลปะ รวมความแล้วหมายถึงศิลปะการป้องกันตนเอง กีฬาประเภทนี้เดิมเป็นศิลปะการต่อสู้ของคนเชื้อสาย มาลายู ในภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน และพื้นที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย คือ ปัตตานี ยะลา สตูล นราธิวาส และสงขลา เรียกว่า “สิละ” “ดีกา” หรือ “บือดีกา” เป็นศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่าเท้าเปล่า เน้นให้เห็นลีลาการเคลื่อนไหวที่สวยงาม มีบางท่านกล่าวว่า สิละมีรากคำว่า ศิละ ภาษาสันสกฤต 

 
อันดับที่ 10. เคนโด้ 
          เคนโด้ เป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของประเทศ ญี่ปุ่น เคนโด้ มีความหมายว่า"วิถีแห่งดาบ" มีพื้นฐานมาจากการใช้ดาบของพวกซามูไรในสมัยก่อน สืบทอดมากันประมาณ พ.ศ. 1332 เป็นวิชาที่ใช้ดาบไม้ไผ่ ในการฝึก ด้วยกระบวนท่าการต่อสู้ที่รวดเร็ว รุนแรง เด็ดขาด ต่อเนื่อง จึงเป็นที่นิยมไปกว่า เกือบ 30 ประเทศทั่วโลก

วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ศิลปะการป้องกันตัว

ศิลปะป้องกันตัว
( Martial Arts )


 
     คำว่า ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว นั้น ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้คาจากัดความไว้ดังนี้
ศิลปะ คือ การแสดงออกให้ปรากฏขึ้น ได้อย่างงดงามน่าพึงชม และเกิดอารมณ์สะเทือนใจ
การต่อสู้ คือ สู้เฉพาะหน้า
ป้องกัน คือ ทาให้พ้นภัย
ตัว คือ ตนเอง
ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว หมายถึง “ วิธีการต่อสู้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าเพื่อให้ตนเองพ้นภัยได้อย่างงดงามน่าพึงชม ”


       ศิลปะการป้องกันตัวจึงเป็นทั้ง ศาสตร์และศิลป์ ที่เป็นศาสตร์ คือ เป็นวิชาที่ได้รับการพัฒนาและสืบทอดต่อๆกันมาเพื่อใช้ประโยชน์ในการป้องกัน ตัว ปกป้องคนที่รัก หรือปกป้องประเทศชาติและเป็นศิลป์ คือ ต้องนำศาสตร์ความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้พลิกแพลงให้เข้ากับสถานการณ์ ทั้งในการต่อสู้และการดำเนินชีวิต ดังนั้น ศิลปะการต่อสู้ และศิลปะป้องกันตัวจึงเป็นทั้งศาสตร์ และศิลป์
      ศิลปะการต่อสู้ ส่วนใหญ่จะถูกออกแบบมาให้ใช้ต่อสู้ แข่งขันกันเพื่อชิงความเป็นหนึ่ง การเอาตัวรอด การทหาร หรือเพื่อความบันเทิงในสมัยโบราณ ดังเช่น การฝึกศิลปะการต่อสู้ประจำกองทัพ หรือกีฬามวยปล้ำ และชกมวย ซึ่งมีการจัดแข่งขันกันตั้งแต่สมัยกรีก ในการแข่งขันโอลิมปัส ซึ่งกีฬาเหล่านี้ล้วนแต่ใช้เทคนิคการต่อสู้ที่ใช้ความรุนแรง บวกกับสมรรถภาพทางร่างกายที่แข็งแรงเป็นปัจจัยสำคัญในการชิงชัย โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ชนะเลิศมักจะเป็นผู้ที่แข็งแกร่งมาก ชนะคนที่แข่งแกร่งน้อยกว่า ดังคำที่ว่า ปลาใหญ่กินปลาเล็ก และส่วนใหญ่จะเป็นกีฬาเพื่อแข่งขันชิงเงินรางวัล หรือศิลปะการต่อสู้แบบทหาร ตำรวจ หรือหน่วยต่อสู้ต่างๆ เพื่อหวังทำร้ายให้ถึงแก่ชีวิต
      ศิลปะป้องกันตัว แต่เดิมมาจากศิลปะการต่อสู้ต่างๆ แต่ถูกพัฒนาเพื่อใช้ในการต่อสู้ป้องกันตัวที่แท้จริง ซึ่งศิลปะป้องกันตัวจะถือหลักสำคัญที่ว่า เล็กชนะใหญ่ อ่อนชนะแข็ง ซึ่งหมายถึง คนที่อ่อนแอกว่าสามารถชนะผู้ที่แข็งแรงกว่าได้ โดยพัฒนามาจากศิลปะการต่อสู้ และศึกษาเน้นความเข้าใจถึงโครงสร้างของร่างกาย และจิตใจ กระบวนท่าเทคนิค การใช้ประโยชน์จากร่างกายให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยพึ่งพากำลังจากกล้ามเนื้อให้น้อยที่สุดด้วย เพราะถ้ายังคงใช้กล้ามเนื้อเป็นหลัก คนที่มีกล้ามเนื้อร่างกายที่แข็งแรงกว่าก็ยังคงเป็นผู้ชนะต่อไป
      ศิลปะป้องกันตัว จะเน้นฝึกฝนจิตใจ ร่างกาย เทคนิค เป็นหลัก โดยการฝึกร่างกายมิได้หมายถึงฝึกฝนร่างกายให้มีความคงทนที่แข็งแกร่ง และมีพละกำลังที่ดีเลิศ แต่หมายถึงการฝึกฝนร่างกายให้เคลื่อนไหวควบคู่กับเทคนิคต่างๆ ได้อย่างเป็นธรรมชาติ และการฝึกจิตใจหมายถึง มนุษยธรรม(仁จิน)คุณธรรม(儀งิ)มารยาท(礼เรย์)ปัญญาธรรม(智จิ)และซื่อสัตย์(信ชิน) ซึ่งเป็นคุณธรรม 5 ประการ ซึ่งถูกนำมาใช้เป็น คุณธรรม 5 ประการของนักรบ จีน และญี่ปุ่น เพื่อมิให้ ผู้ที่ได้รับการฝึกฝนนำวิชาไปใช้ในทางที่ผิด เนื่องจากผลที่ได้จากศิลปะป้องกันตัวนั้นรุนแรงมากถ้าถูกใช้ไปในทางที่ไม่ ควร นอกจาก คุณธรรม 5 ประการนี้ ส่วนใหญ่ในศิลปะป้องกันตัวจะสอดแทรกเนื้อหาของปรัชญา และศาสนา ไว้เพื่อขัดเกลาจิตใจด้วย

      ในปัจจุบันมีศิลปะป้องกันตัว และศิลปะการต่อสู้มากมายหลากหลายชนิด เช่น มวยไทย คาราเต้ มวยเส้าหลิน มวยไทเก็ก ยูโด เทควันโด คาโปเอร่า และอื่นๆ มากมายหลากหลาย เนื่องจากศิลปะเหล่านี้ถูกคิดค้นจากมนุษย์ และคนเรานั้นต่างอยู่อาศัยในสถานที่ต่างกัน วัฒนธรรม การเลี้ยงดู ภูมิประเทศที่ต่างกัน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ทำให้คนที่อยู่ต่างสถานที่กัน มีความถนัด ความสามารถ ความคิด และจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกันด้วย เช่น มวยไทยเป็นศิลปะการต่อสู้ และป้องกันตัวที่เรียบง่าย และรุนแรง เหมาะที่จะใช้ในการสู้รบ จัดทัพศึกเพื่อปกป้องประเทศชาติ   คาโปเอร่า ศิลปะป้องกันตัวด้วยเท้าของบลาซิล ที่เกิดขึ้นเนื่องจากสมัยที่เป็นทาสต้องปกปิดการฝึกฝนไว้จึงนำท่วงท่ามา ประกอบเสียงเพลง   มวยเส้าหลิน มวยจีนที่ถือกำเนิดจากพระ เพื่อใช้ป้องกันตัวจากเหล่าสัตว์ป่าดุร้าย   มวยไทเก็ก มวยจีนที่เกิดจากนักพรตเต๋า แสวงหาความสงบในความเคลื่อนไหว อ่อนชนะแข็ง   คาราเต้ วิชาจากโอกินาว่า ที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างมวยเส้าหลิน กับมวยพื้นเมือง และวิชาดาบสายจิเก็นริว เพื่อตัดสินชิงชัยด้วยการโจมตีเพียงครั้งเดียว
      ดังนั้นในศิลปะป้องกันตัว และศิลปะการต่อสู้ จึงไม่ใช่วิชาที่รุนแรง หากแต่เป็นศาสตร์ และศิลป์ ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และมีประวัติสืบทอดกันมายาวนาน "ประเทศชาติบางประเทศสามารถเป็นเอกราชได้เพราะมีศิลปะการต่อสู้ของชาติ "แต่ที่พวกเราติดภาพความรุนแรงของศิลปะการต่อสู้มา เพราะการแสดงออกของบุคคลต่างๆที่อาจใช้ไปในทางที่ผิด เช่นข่าวที่ว่านักกีฬาต่อสู้ชนิดหนึ่งทำร้ายภรรยาจนถึงแก่ชีวิต และอดีตแชมป์ต่อสู้เป็นผู้ค้ายาเสพติด หรือเกิดจากการแสดงต่างๆ เช่นการทำลายข้าวของ สับอิฐ ผ่าไม้ ซึ่งเหล่านี้เป็นเพียงส่วนเล็กๆ ของศิลปะการต่อสู้ และป้องกันตัวเท่านั้น ซึ่งแทบจะไม่มีความจำเป็นในการฝึกเลย  และหาใช่ตัวตนที่แท้จริงของศิลปะไม่
      ในการที่จะเลือกฝึกศิลปะป้องกันตัว หรือ ศิลปะการต่อสู้นั้น ควรจะเลือกให้ถูกกับ ลักษณะนิสัย จุดมุ่งหมาย ความชอบของตนเอง มากกว่าที่จะเลือกฝึกเพราะตามค่านิยม หรือตามเพื่อนไปฝึก เนื่องจาก แต่ละศาสตร์นั้นจะมีจุดมุ่งหมายในการฝึกฝน ทัศนคติทางการต่อสู้ไม่เหมือนกัน ดังเช่น คนที่มีนิสัยชอบชกต่อย ถ้าจะเลือกเรียนไอคิโด ก็คงไม่เหมาะเพราะไอคิโด เป็นวิชาที่เน้นการผสานแรง รับ และเบี่ยงแรงคู่ต่อสู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์  หรือให้คนที่ชอบหลีกเลี่ยงการต่อสู้ ชอบสันติวิธีมาฝึกมวยสากล ก็คงไม่เหมาะสมกันเท่าไหร่นัก และถึงแม้ว่าจะเป็นวิชาเดียวกันนั้น แต่ว่าแต่ละคนนั้นย่อมมีจริตที่จะแสวงหาการต่อสู้ที่ไม่เหมือนกัน บางคนจึงอาจจะฝึกวิชาไว้เพื่อป้องกันตัว แสวงหาความสงบในชีวิต แต่บางคนกลับแสวงหาการต่อสู้ เพื่อไว้ใช้ในการต่อสู้แข่งขัน หรือเพื่อเป็นอาชีพ ดังนั้นการจะเรียกกล่าวว่าวิชานั้นเป็นศิลปะการป้องกันตัว หรือศิลปะการต่อสู้นั้นย่อมขึ้นกับใจของผู้ฝึกเอง


     การป้องกันตัวในสมัยโบราณ
      การป้องกันตัวในสมัยโบราณ มีมานานแล้ว เพราะมนุษย์ต้องต่อสู้เพื่อให้ตนเองมีชีวิตอยู่และต้องต่อสู้กับภัยต่าง ๆ เช่น ภัยจากธรรมชาติ ภัยจากสัตว์ร้าย อันตรายจากมนุษย์ด้วยกัน ซึ่งอาจจะเกิดจากการต่อสู้ ทะเลาะวิวาท แย่งชิงทรัพย์สิน ฯลฯ การป้องกันตัวสมัยโบราณนั้นจะเป็นไปตามธรรมชาติ และต่อมาได้มีการพัฒนาการต่อสู้ในรูปแบบของศิลปะการป้องกันตัวในรูปแบบต่าง ๆ
การป้องกันตัวในสมัยปัจจุบัน
     การป้องกันตัวในสมัยปัจจุบันได้มีการพัฒนาทั้งในเรื่องอาวุธ ยุทโธปกรณ์ เครื่องป้องกัน ที่ประกอบไปด้วยเทคโนโลยีที่มีความทันสมัยก้าวหน้า มีการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้เปรียบคู่ ต่อสู้หรือศัตรูให้มากที่สุดเนื่องจากสภาวะในสังคมปัจจุบันมีการแก่งแย่งชิง ดีชิงเด่นทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ตลอดจนภัยคุกคามที่เกิดจากการก่อการร้ายในปัจจุบัน จึงจาเป็นจะต้องเรียนรู้ รู้จักระมัดระวัง และแสวงหาถึงวิธีป้องกันตัวไว้เพื่อหลีกเลี่ยง และป้องกันตัวจากอันตรายทั้งหลายเหล่านั้น ซึ่งมีหลายรูปแบบ และมีอาวุธที่แตกต่างกันไปจากสมัยโบราณ
การใช้ศิลปะป้องกันตัวเพื่อสร้างคุณธรรม
       การใช้ศิลปะป้องกันตัวเพื่อสร้างคุณธรรม การฝึกศิลปะป้องกันตัวนั้นเน้นในเรื่องของคุณธรรมมากเป็นพิเศษ เช่น การเคารพต่อครู อาจารย์ ผู้อาวุโส และต้องเป็นผู้ที่รู้จักความอ่อนน้อมถ่อมตน (อ่อนนอกแข็งใน)เป็นผู้ที่มีสัมมาคารวะ รู้จักกาละเทศะและที่สาคัญต้องรู้ว่าจะต้องใช้เวลาใด เมื่อใด และใช้กับใคร การนาวิชาไปใช้ในทางที่ถูกเช่น ช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอหรือเมื่อถูกข่มเหงรังแกทางด้านจิตใจ ฝึกให้มี สติ ความสุขุม รอบคอบ มีสมาธิและมีวิจารณญาณ ในการตัดสินใจและให้พิจารณาเหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างรอบคอบ

มนุษย์กับศิลปะการต่อสู้
     ตั้งแต่ กำเนิดโลก และเริ่มมีมนุษย์บนโลก คำว่าต่อสู้ ก็ติดมากับมนุษย์โด อาทิยตลอด เมื่อมนุษย์ ลืมตาดูโลก เริ่มขบวนการของระบบหายใจ มนุษย์ก็ต้องต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ที่ปนเปื้อน มากับอากาศต้องต่อสู้ กับทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัว ถึงแม้กระทั่งกับตัวเอง กับธรรมชาติ หรือภัยทางธรรมชาติ ล้วนแล้วเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องต่อสู้ อีกทั้งบรรดาสัตว์ร้ายทั้งหลาย ที่เข้ามาทำร้ายมนุษย์ และ สัตว์ที่ต้องต่อสู้เพื่อป้องกันชีวิตของมันเอง จากการที่มนุษย์ต้องล่ามันมาเป็นอาหารสำหรับยังชีพมนุษย์ ยังต้องต่อสู้กับมนุษย์ด้วยกันเอง เพื่ออะไรๆหลายอย่าง อาทิเช่น ต้องสู้เพื่อ สิทธิครอบครองการเป็นเจ้าของ เพื่ออิสรเสรีภาพ เพื่อป้องกันตัวเอง หรือปกป้องคนที่ตัวเองรัก และการต่อสู้ที่กล่าวมาข้างต้น มันไม่ได้ใช้แค่ แรงจากร่างกายเท่านั้นมันยังอาศัยแรงใจ แรงบันดาลใจ และความคิดเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย และเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องต่อสู้ ท้ายที่สุดของจุดมุ่งหมายของมันคือ การอยู่รอด หรือให้อยู่รอดของชีวิต (SURVIVAL)
      ศิลปะการต่อสู้ ของมนุษย์ที่อยู่ในแต่ละซีกโลก หรือแต่ละส่วนของโลก ต่างก็มี วิธีการต่อสู้เป็นของตัวเอง อาจจะแตกต่าง หรือ คล้ายครึงกันนั้นขึ้นอยู่กับ สภาพแวดล้อมหรือท้องถิ่นที่มนุษย์อาศัยอยู่ ยกตัวอย่างเช่น มนุษย์ที่อาศัยในถิ่นฐานที่มีอากาศหนาว มีหิมะปกคลุมตลอดเวลา เสื้อผ้าที่สวมใส่ต้องหนาหรือสวมใส่หลายชั้น เลยทำให้รุ่มร่ามเคลื่อนไหวไม่คล่องตัว การต่อสู้ก็มักจะเริ่มต้นด้วยการ จับยึดเสื้อผ้าเพื่อทุ่มหรือเหวี่ยง ส่วนมนุษย์ที่อาศัยอยู่บริเวณอากาศร้อนจัด การแต่งกายก็คงคล้ายกับมนุษย์ที่อยู่บริเวณอากาศหนาว คือ เสื้อผ้าต้องหนาหรือใส่หลายชั้น เพื่อป้องกันความร้อนจากแสงแดดที่แผดเผา การต่อสู้ด้วยการเตะต่อยจะไม่สะดวก ด้วยเหตุ ที่ความคล่องตัวมีน้อย นอกจากการจับรั้งเพื่อทำการทุ่มแล้ว ขอบเสื้อ คอเสื้อ หรือปกที่เป็นเสื้อผ้าหนา ก็สามารถใช้รัดคอหรือใช้เกี่ยวใช้พันไม่ให้คู่ต่อสู้เคลื่อนไหวได้ กลุ่มของวิชาการต่อสู้ ลักษณะนี้ได้แก่ ยูโด (JUDO)อคิโด (AIKIDO) มวยปล้ำ (WRESTLING) 
     สำหรับมนุษย์ที่อาศัย อยู่ในถิ่นฐานบริเวณอากาศอบอุ่นและค่อนข้างร้อน เสื้อผ้าการแต่งกาย ผ้าจะบางรัดกุมไม่รุ่มร่าม เสื้อผ้ามีน้ำหนักเบาทำให้คล่องตัว ถ้าต้องต่อย เตะ หรือต้องอาศัยความเร็วในการโจมตี กลุ่มของวิชาการต่อสู้ ลักษณะนี้ ได้แก่มวยสากล (INTERNATIONAL BOXING) มวยไทย (MUAY THAI) คาราเต้ (KARATE) เทควันโด (TAE KWONDO) มวยเส้าหลิน (SHAOLIN KUNGFU)
การป้องกันตัว
     โดยนำวิชาป้องกันตัวที่หลากหลายมาใช้เพื่อการเอาตัวรอดในชีวิตจริง ไม่ใช่เพื่อการแข่งขันโดยแยกรูปแบบการฝึก ได้ดังนี้
- ฝึกใช้มือ - แขน ได้แก่ การหมุนมือในลักษณะเส้นโค้ง เพื่อปัดป้องแทนการจับตะครุบ หรือปัดในแนวเส้นตรง เพื่อประสิทธิภาพในการจับ บิด ล็อค การทุบ หรือการชก ตามแบบเส้นโค้ง และเพื่อลดการกระแทก
- ฝึกใช้ขา - เท้า ได้แก่ การหมุนตัวเพื่อการหลบหลีก ( ลดระยะทางหรือพื้นที่ และลดแรงปะทะ ) การเตะ ถีบ และการล็อค ในท่านั่ง ท่านอน หรือการทุ่ม ในลักษะณะที่ต่อเนื่องตามหลักเส้นโค้ง
- ฝึกจับ , บิด , ล็อค ได้แก่ การฝึกล็อคท่าหลัก 4 ท่า ก่อนนำไปประยุกต์สู่การล็อคทั้งตัวเพื่อประโยชน์ ต่อการควบคุมฝ่ายตรงข้ามที่ตัวโต มีจำนวนหรือแรงมากกว่า เป็นต้น
- ฝึกล้ม ในลักษณะต่างๆได้แก่การฝึกล้มในท่าสำคัญๆ ( อาจแตกต่างกันไปบ้างตามวัย และสรีระ ) เช่น การม้วนหน้า ม้วนหลัง การล้มบนพื้นผิวต่างๆ 
จรรยาบรรณในการป้องกันตัว
      จรรยาบรรณในการป้องกันตัวของนัก แบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ
      ระดับที่ 1 เป็นระดับที่ต่ำที่สุด จะทำร้ายผู้อื่นก่อนโดยมิได้มีการร้องหรือชักชวนให้มาต่อสู้กัน และทาร้ายผู้อื่นจนถึงแก่ชีวิต
      ระดับที่ 2 เป็นระดับที่สูงกว่าระดับที่ 1 ตรงที่ชักชวนผู้อื่นให้มาต่อสู้กันและเมื่อคนที่ถูกชักชวนรับคำท้าทายหรือคำ ชักชวนนั้นเข้ามาต่อสู้ และถูกทำร้ายจนถึงตาย
      ระดับที่ 3 เป็นจรรยาบรรณที่สูงขึ้นมาอีก คราวนี้ไม่มีการโจมตีหรือท้าทายก่อน เมื่อถูกโจมตีก็ต้องป้องกันตัวในลักษณะที่เรียกว่าเป็นการป้องกันตัวเองจริง ๆ แต่ผู้ที่เข้ามาทำร้ายจะได้รับบาดเจ็บหรืออาจถึงตายจากการกระทำของเขาเอง
      ระดับที่ 4 เป็นจรรยาบรรณระดับสูงที่สุด จรรยาบรรณระดับนี้จะเป็นผู้ที่มีความสุภาพอ่อนโยน ไม่มีการท้าทาย ชักชวน หรือเข้าโจมตีก่อน และเมื่อถูกทำร้ายก็จะป้องกันตนเองให้ปลอดภัยและป้องกันมิให้ ผู้เข้าทำร้ายได้รับบาดเจ็บอีกด้วย


      จุดอันตรายที่สำคัญของร่างกายมนุษย์นั้น ถ้าจะพิจารณามาใช้เกี่ยวกับการต่อสู้และป้องกันตัวสามารถแยกได้ดังนี้
ด้านหน้า
1. หน้าผาก
2. จมูก
3. ริมฝีปาก
4. ขากรรไกร
5. ขมับ
6. ลูกคาง
7. ลูกกระเดือก
8. เส้นโลหิตใหญ่ที่คอ
9. ลิ้นปี่
10. หัวไหล่ ( กระดูกไหปลาร้า )
11. ข้อศอก
12. ข้อมือ
13. นิ้วมือ
14. ซี่โครง ( โดยเฉลี่ยซี่ที่ 12 )
15. หน้าท้อง
16. หัวเหน่า
17. อัณฑะ
18. หัวเข่า
19. ข้อเท้า
20. นิ้วเท้า

ด้านหลัง
1. ท้ายทอย
2. กระดูกคอ
3. กระดูกสันหลัง
4. กระดูกสะบ้า
5. กระดูกเชิงกราน


อาวุธในร่างกายมนุษย์
1. แง่ศีรษะด้านหน้า ใช้โขก กระแทก
2. แง่ศีรษะด้านหลัง ใช้โขก กระแทก
3. ศอก ใช้ตี ยัน ถอง กระแทก
4. แขนท่อนล่าง ใช้ปิดกัน กด ยัน กระแทก
5. สันมือ ใช้ยัน กระแทก
6. สันกาปั้น ใช้ชก ต่อย
7. สันมือ ใช้สับ ฟัน
8. กาปั้น ใช้ชก ต่อย ทุบ
9. แง่นิ้วมือ ใช้โขก กระแทก
10. นิ้วมือ ใช้ทิ่ม แทง จี้
11. เข่า ใช้โยน ตี กระแทก
12. แข้ง ใช้เตะ
13. หลังเท้า ใช้เตะ
14. ส้นเท้า ใช้เตะ ยัน
15. ฝ่าเท้า ใช้ถีบ ยัน
16. สันเท้า ใช้ถีบ ยัน
17. นิ้วหัวแม่เท้า ใช้ถีบ จิก

จุดอ่อนในร่างกายมนุษย์
1. ขมับ
2. ตา
3. ดั้งจมูก
4. จมูก
5. ปาก
6. คาง
7. ลาคอ
8. ตรงหัวใจ
9. ลิ้นปี่
10. ส่วนเว้าของท้อง
11. ขอหนีบ
12. เข่าโดยรอบ
13. แข้ง
14. ข้อเท้า
15. หู
16. ใต้หู
17. ต้นคอ
18. ไหล่
19. ชายโครง
20. ตรงตับ
21. ตรงไต
22. สันหลัง
23. ข้อมือ
24. นิ้วมือ
25. ก้นกบ
26. น่อง
27. ร้อยหวาย


ประโยชน์ที่ได้รับจากการที่เป็นคนแข็งแรงและว่องไว
       ประการที่หนึ่ง ถ้าเกิดการต่อสู้กันขึ้น ผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงกว่าย่อมได้เปรียบเกี่ยวกับแรงปะทะ และโดยมากมักจะเป็นผู้มีชัยเสมอ เพราะฉะนั้นความแข็งแรงจึงเป็นหลักประกันที่จะเอาชนะฝ่ายตรงข้ามได้ จึงควรที่จะเสริมสร้างสมรรถภาพร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอ โดยการบริหารร่างกาย หรือหาเวลาว่างในการออกกาลังกายอย่างสม่าเสมอ
      ประการที่สอง ผู้ ที่บริหารร่างกายเป็นอย่างดีนั้น นอกจากจะทาให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังเป็นผลต่อเนื่องทางระบบประสาท เพิ่มความว่องไวเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวอีกด้วย การต่อสู้แบบประชิดตัวถึงขั้นเอาเป็นเอาตายนั้น มักจะพบเสมอว่า “ผู้ว่องไวก็คือผู้ที่มีชีวิตอยู่ และผู้ที่เชื่องช้าก็คือผู้ตาย”
ความแข็งแรงความจัดเจนในการต่อสู้ป้องกันตัว ย่อมได้เปรียบเป็นทวีคูณ
ความ แข็งแรงที่ได้จากการบริหารร่างกายแบบต่างๆ ซึ่งฝึกพร้อมกับการฝึกอบรมเกี่ยวกับวิธีการต่อสู้ป้องกันตัว เป็นการฝึกซ้อมไว้ก่อนล่วงหน้า เตรียมร่างกายไว้ก่อนย่อมชี้ถึงวิธีการต่อสู้ที่ถูกต้องนั้นว่าปฏิบัติอย่าง ไร เมื่อถึงคราวจาเป็นที่จะต้องนามาแก้ปัญหาและตัดสินใจ ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและให้ได้ผล สมบูรณ์มากที่สุด ผลที่ได้เปรียบฝ่ายตรงข้ามก็ย่อมจะเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ นับว่าเป็นผู้ไม่ประมาท เพราะ “ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย”
วิธีต่อสู้อันชาญฉลาดนั้นคืออย่างไร
      เหตุที่เกิดขึ้นบางครั้ง ท่านพอจะช่วยตัวเองให้หนีพ้นภัยไปได้ โดยไม่ต้องเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของร่างกาย ในการเข้าปะทะต่อสู้แต่อย่างใด ก็ย่อมจะกระทาได้ เพราะการต่อสู้นั้น ไม่เกิดผลดีอะไรขึ้นมาเลยแต่ยังจะทาให้เกิดผลเสียขึ้นได้ และอาจทาให้ท่านเสียชีวิตได้ เพราะฉะนั้นในการที่จะหนีเพื่อความปลอดภัยนั้นก็เป็นความจาเป็นในบางโอกาส ซึ่งจัดว่าการหนีเอาตัวรอดนั้นก็เป็นศิลปะการป้องกันตัวได้เหมือนกัน และบางครั้งการหนีก็เกิดเป็นผลเสียแก่ท่านได้เช่นกัน เมื่อเป็นดังว่านี้ การจะสู้หรือจะหนีจึงต้องขึ้นอยู่ต่อสถานการณ์นั้น ๆ เช่นความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม กาลังที่ได้เปรียบหรือเสียเปรียบ ซึ่งท่านต้องตัดสินใจของท่านเองว่าอะไรควรไม่ควรเพียงใด
       บางทีเหตุเกิดในที่คับขัน ไม่มีทางที่จะหนีรอดภาวะการณ์นั้นไปได้ จะต้องสู้เพื่อหา ทางหนี ในการต่อสู้นี้ไม่ได้หมายความถึงการต่อสู้ให้ถึงขั้นแตกหัก โดยใช้เวลามากมาย แต่เป็นการต่อสู้เพื่อจะได้หนีไปได้อย่างรวดเร็ว เพราะถ้าหนีช้าจะเป็นผลดีแก่ฝ่ายตรงข้าม ได้ติดตามนาพรรคพวก มาสมทบกลุ้มรุมทาร้ายเพิ่มขึ้นอีกก็ได้ ถึงท่านจะเป็นผู้มีความสามารถเพียงใดก็ตาม ก็มีโอกาสที่จะเสียทีเขาได้เหมือนคาพังเพยที่ว่า “น้าน้อยย่อมแพ้ไฟ”
หลักเกี่ยวกับการทรงตัวและการเคลื่อนที่
      การทรงตัวเป็นรากฐานอย่างหนึ่งในการเคลื่อนไหวไปในทิศทางต่าง ๆ การทรงตัว เป็นลักษณะคล้ายกับการตั้งการ์ดหรือจรด ซึ่งพร้อมที่จะปฏิบัติการได้ทันท่วงที การทรงตัวที่ดีจะทาให้สามารถหลบหลีกป้องกันตัว และตอบโต้คู่ต่อสู้ได้อย่างฉับพลันและมีประสิทธิภาพ
      การเคลื่อนที่มีความสาคัญในการป้องกันตัว การหลบหลีกและการตอบโต้ แล้วแต่โอกาสที่จะได้รับประโยชน์แก่ตนเอง การเคลื่อนที่จะได้ผลดีขึ้นอยู่กับการทรงตัวที่ดี การตัดสินใจที่ถูกต้องรวดเร็ว และปฏิกิริยาตอบสนองได้อย่างฉับพลัน
       การใช้พลังคู่ต่อสู้ให้เป็นประโยชน์นั้น อาศัยกฎเกณฑ์ทางวิชาฟิสิกส์มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ไม่มีการเข้าปะทะให้เสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์และเพิ่มอันตรายให้กับทั้ง สองฝ่าย ทาให้คู่ต่อสู้เสียหลักการทรงตัว โดยการนาพลังงานของเรา การแยกแรงของคู่ต่อสู้ ที่กระทามาให้เปลี่ยนทิศทางด้วยการใช้ความเร็วแรง เสียดทาน และทาให้เสียสมดุลย์ของจุดศูนย์ถ่วง
ทักษะการทรงตัว
       การทรงตัวมีวิธีปฏิบัติหลายแบบ แล้วแต่ลักษณะของศิลปะการป้องกันตัวที่จะนาไปใช้ แต่ที่สาคัญ คือ มีลักษณะการวางเท้า ซึ่งมีรูปแบบที่สาคัญและเป็นพื้นฐานของการป้องกันตัว 3 รูปแบบ คือ
     1. การทรงตัวแบบธรรมชาติ คือ ยืนอย่างปกติ แต่พร้อมที่จะป้องกันและตอบโต้
     2. การทรงตัวพร้อมที่จะป้องกันและต่อสู้ เมื่อแน่ใจว่าฝ่ายตรงกันข้ามจะทาอันตรายกับตน ลักษณะการยืนอาจเป็นรูปสามเหลี่ยม และยกมือขึ้นจรดแบบมวยจีน คือยืนด้วยปลายเท้า
     3. ยืนในลักษณะเท้าหน้าชี้ ตรงไปด้านหน้า เท้าหลังวางทามุม 90 องศา กับเท้าหน้า ลักษณะการยืนแบบนี้ใช้กับศิลปะการป้องกันตัวแบบเคนโด เทควอนโด ไอคิโด หรืออาจจะยืน ในลักษณะการตั้งการ์ด แยกขาด้านข้าง โดยยืนให้เท้าทั้งสองอยู่ในแนวเดียวกัน และพร้อมที่จะก้าวขวาหรือแบบครึ่งวงกลม เช่น ในศิลปะการป้องกันตัวแบบยูโด มวยปล้า ก็ได้
หลักเกี่ยวกับการล้ม
      การล้มที่นามาใช้ในการต่อสู้ป้องกันตัวนั้น ก็เพื่อช่วยในการเฉลี่ยน้าหนักจากการถูกทุ่ม เหวี่ยง ผลัก ให้หงายหลัง เพื่อให้ร่างกายได้รับบาดเจ็บหรือได้รับอันตรายน้อยที่สุด และการล้ม ที่ถูกหลักวิธีสามารถช่วยในการตอบโต้ได้ด้วยทักษะการเคลื่อนที่
การเคลื่อนที่ไปข้างหน้าและข้างหลัง ทำได้ 2 วิธี คือ
     1. การเคลื่อนที่แบบสืบก้าวเท้า ไม่ว่าจะยืนในลักษณะธรรมชาติ ยืนแบบสามเหลี่ยม หรือ ยืนแบบเท้าตั้งฉาก จะเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ให้สืบเท้าหน้าตรงไปข้างหน้า แล้วฉากเท้าหลังตาม ถ้าจะถอยหลังก็ให้สืบเท้าหลังถอยไปข้างหลังก่อน แล้วฉากหลบ
     2. การเคลื่อนที่แบบก้าวเท้าสลับจากท่ายืนทรงตัวทั้ง 3 รูปแบบ เมื่อจะถอยหลังให้ ยกเท้าหน้า ก้าวไปวางข้างหลัง ตามแบบการยืนทรงตัวที่ต้องการ ถ้าจะเคลื่อนไปข้างหน้าให้ก้าว เท้าหลังไปวางข้างหน้า โดยก้าวสลับเท้ากันไปเรื่อย ๆ
        2.1 การเคลื่อนที่ไปทางด้านข้าง จาก การยืนทรงตัวในลักษณะต่าง ๆ เมื่อจะเคลื่อนไหวทางด้านหลัง สามารถจะเคลื่อนที่ได้โดยการเคลื่อนเท้าข้างเดียวกันกับทิศทางที่จะเคลื่อน ที่ไปก่อน แล้วเคลื่อนเท้าอีกข้างหนึ่งตามไป ให้อยู่ในลักษณะการทรงตัวแบบเดิม หรือแบบใดก็ได้
        2.2 การเคลื่อนที่แบบวงกลม จาก การยืนทรงตัวในลักษณะใดก็ตาม เมื่อจะเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ให้ก้าวเท้าหนึ่งเท้าใดไปข้างหน้า หรือเฉียง 45 องศา ไปทางซ้ายหรือขวา แล้วย่าเท้าอีก ข้างหนึ่งผ่านด้านหลังของเท้าที่ก้าวไปแล้ว พร้อมกับกลับหลังหัน (รอบที่ 1 180 องศา) แล้วก้าวเท้าแรกผ่านด้านหน้าอีกเท้าหนึ่ง ทามุม 180 องศา เป็นรอบที่ 2 อยู่ในลักษณะการทรงตัวตามเดิม
เมื่อจะเคลื่อนที่ถอยหลังเป็นรูปวงกลม ให้เคลื่อนเท้าผ่านส้นเท้าหลังเป็นมุม 180 องศา (ครึ่งรอบที่ 1) ต่อไปให้ก้าวเท้าอีกข้างหนึ่ง ผ่านด้านหน้าของเท้าแรก ไปอีก 180 องศา ไปอยู่ในลักษณะการทรงตัวตามเดิม
ทักษะการล้ม
      1. ล้มหน้า
       1.1 การล้มหน้าแบบยูโด ในลักษณะยืนอยู่เมื่อถูกทาให้ล้มไปข้างหน้า ในขณะล้ม ไปข้างหน้า ให้แขนท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบน ฝ่ามือคว่า แขนทั้งสองข้างห่างกัน 1 ช่วงไหล่ เกร็งลาตัว เมื่อลงสู่พื้นอย่าให้หน้าอกและท้องกระแทกพื้น
       1.2 การล้มหน้าแบบไอคิโด เป็นการล้มไปในลักษณะการม้วนไปด้วยเข่างอ และขาพับไขว้ไว้ข้างหลัง
     2. ล้มหลัง
      2.1 การล้มหลังแบบยูโด ในลักษณะที่ยืนอยู่เมื่อครูทาให้ล้มไปข้างหลังให้ก้มศีรษะ คางชิดหน้าอก แขนทั้งสองแยกออกทามุมกับลาตัวประมาณ 22 ½ องศา เข่างอเล็กน้อย เอนตัวไป
ข้าง หลังลงสู่พื้น แขนทั้งสองฟาดลงสู่พื้น พร้อมกับยกเท้าทั้งสองเหยียดตรง ตวัดไปทางศีรษะ ลักษณะเหมือนลูกกลิ้ง ห้ามงอเข่าเมื่อลงสู่พื้นแล้ว
      2.2 การล้มหลัง แบบ ไอคิโด การล้มหลังตามแบบไอคิโด ให้เอาเท้าหนึ่งไว้ข้างหลัง ย่อเข่าลง ก้มหน้าคางชิดอก เข่างอชิดหน้าอก
หลักเกี่ยวกับการหลบหลีก
      การหลบหลีกก็เพื่อต้องการให้พ้นอันตรายจากการกระทาของคู่ต่อสู้ อาจจะใช้วิธีการหลีกหนี คือหนีให้พ้นอาวุธและสถานการณ์แต่ถ้าไม่สามารถหลีกหนีได้ อาจจะใช้วิธีการหลบเพื่อ หาช่องทางเข้าปลดอาวุธยับยั้งการกระทาของคู่ต่อสู้หรือตอบโต้ตามแต่โอกาสและ ความสามารถ ของเราการหลบหลีก แบ่งได้เป็น 3 วิธี คือ
      1. เมื่อถูกคู่ต่อสู้เข้ากระทาจากมือเปล่า อาวุธสั้น อาวุธยาวและอื่นๆ ให้ใช้การหลบฉากและใช้มือทั้งสองปัดป้อง
      2. เมื่อถูกคู่ต่อสู้เข้ากระทาจากมือเปล่า อาวุธสั้นหรืออาวุธอื่นๆ ให้ใช้การผงะหรือสืบเท้าถอยให้พ้นระยะ
      3. เมื่อถูกฟันด้วยมีด ดาบ การหลบหนีด้วยการเข้าปะทะหรือประชิด ให้ใช้เท้า เป็นลักษณะครึ่งวงกลมหรือเป็นวงกลมพร้อมกันใช้มือรับปัดป้องและตอบโต้
หลักเกี่ยวกับการตอบโต้
      การตอบโต้จะให้ได้ผลดีจะต้องอาศัยการเคลื่อนที่ที่ถูกต้อง เหมาะสมว่องไวและถูกต้องตามจังหวะ และมีเทคนิคการทาอันตรายด้วยวิธีต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพการตอบโต้จะต้องอาศัยการตัดสินใจที่รวดเร็ว และเลือกวิธีการตอบโต้ที่สามารถทาอันตรายคู่ต่อสู้ได้อย่างรุนแรงที่สุด
ทักษะเบื้องต้นของการหลบหลีกและตอบโต้
      ตัวอย่างเช่น การแทงในระยะใกล้ ถ้าเป็นการแทงตรงมาบริเวณหน้า ท้องวิธีป้องกันแบบง่ายๆ ถ้าคู่ต่อสู้แทงด้วยมือขวา คือให้วนขาหลังออกครึ่งวงกลมใช้ข้อมือในของมือขวาเหวี่ยงไป ตีข้อมือคู่ต่อสู้อย่างแรงเพื่อให้อาวุธหลุดแล้วหมุนตีศอกกลับไปที่คู่ ต่อสู้ หรือแก้โดยการก้าวเท้าซ้ายไปด้านหลัง แล้วใช้มือขวาฟันข้อมือคู่ต่อสู้พร้อมกับใช้เข่าขวาตีไปที่ชายโครงคู่ต่อสู้
      การหลบหลีกและการตอบโต้ด้วยการหักข้อมือเมื่อคู่ต่อสู้แทงด้วยมือขวาให้หลบ โดยใช้เท้าซ้ายวนไปด้านหลังเท้าขวาเป็นรูปครึ่งวงกลม ใช้มือขวาจับหลังมือคู่ต่อสู้แล้วยกมือคู่ต่อสู้ขึ้นตรงศีรษะแล้วก้าวเท้าวง ถอยหลัง 1 ก้าว หมุนเท้าซ้ายไปด้านหน้า เข้าชิดลาตัวคู่ต่อสู้ ใช้มือซ้ายจับหลังมือบิด พร้อมกับหักมือขวาดันให้สันมือคู่ต่อสู้หันเข้าหารักแร้ของตัวเอง
ทักษะเบื้องต้นของการหลบหลีกและตอบโต้
หลบหลีกและตอบโต้แบบมวยไทย
      ใน ลักษณะที่ฝ่ายคู่ต่อสู้ต่อยหมัดตรงบริเวณหน้าหรือลาตัว ให้หลบฉากออกทางซ้ายหรือขวาให้พ้นวิถีหมัดแล้วใช้เท้าหน้าถีบยันไปบริเวณ หน้าท้องหรือหน้าอก ถ้าหลบออกทางด้านเดียวกัน
กับ หมัดคู่ต่อสู้สามารถให้เท้าหลังเตะคอหรือบริเวณลาตัวหรือใช้เข่าก็ได้หรือ สืบเท้าหน้าตรงเข้าหา คู่ต่อสู้พร้อมกับใช้มือข้างเดียวกับเท้าที่สืบเข้าไปปัดหมัดให้พ้นระยะใช้ ศอกตีไปที่ใบหน้าคู่ต่อสู้
หลบฉากและตอบโต้แบบยูโด
      ในลักษณะที่ฝ่ายคู่ต่อสู้ต่อยหมัดตรงบริเวณหน้าหรือลาตัวให้หลบฉากออกทาง ซ้ายหรือขวา ใช้มือซ้ายหรือมือขวาปัดหมัดด้านนอกหรือปัดด้านใน ถ้าปัดแขนด้านนอก เมื่อคู่ต่อสู้ต่อยด้วยหมัดขวาให้เท้าซ้ายเฉียงไปข้างหน้า ทางซ้ายลากเท้าขวาตามพร้อมกับใช้มือขวาปัดข้อมือขวาคู่ต่อสู้แล้วจับข้อมือ คู่ต่อสู้ด้วยสะโพก
      ถ้าใช้วิธีการปัดแขนด้านใน เมื่อคู่ต่อสู้ต่อยหมัดตรงขวาให้สืบเท้าซ้ายเข้าคู่ต่อสู้ พร้อมกับยกแขนซ้ายขึ้นปัดหน้าแล้วจับล็อกแขนคู่ต่อสู้ แล้วก้าวเท้าขวาไปวางข้างหน้าคู่ต่อสู้ แขนขวาสอดเข้าใต้รักแร้ขวาของคู่ต่อสู้ แล้วใช้มือซ้ายและขวาดึงคู่ต่อสู้พร้อมกับพับตัวลงข้างหน้าอย่างแรงเป็นการ ทุ่มด้วยบ่า
ทักษะเบื้องต้นของการหลบหลีกตอบโต้
หลบและตอบโต้แบบไอคิโด
      ในลักษณะที่คู่ต่อสู้ต่อยหมัดตรงมาบริเวณใบหน้าหรือลาตัวด้วยหมัดขวา การหลบหลีกให้ยืนเอาเท้าอยู่หน้าเท้าซ้ายอยู่หลัง ใช้มือขวาจับที่ข้อมือคู่ต่อสู้แบบคว่ามือ พร้อมกับวนขาซ้าย ไปด้านหลังขาขวาเป็นมุม 180 องศา พร้อมกับยกมือขวาที่จับแขนคู่ต่อสู้ขึ้นเหนือศีรษะพร้อมก้าวเท้าขวาถอยหลัง ไปตรงๆ 1 ก้าว แล้วก้าวเท้าซ้ายตัดผ่านด้านหน้าใช้มือซ้ายกดไหล่คู่ต่อสู้ใช้มือขวา บิดข้อมือซ้ายกดไหล่คู่ต่อสู้ให้มานอนคว่า แล้วดันปลายแขนคู่ต่อสู้ให้ทามุมกับหัวไหล่มา 45 องศา จับกดลงสู่พื้น
 ทักษะเบื้องต้นของการหลบหลีกและตอบโต้ระยะใกล้
จับยึดหรือจับล็อค
      1. ในเมื่อถูกจับกอดรัดบริเวณลาตัวโดยคู่ต่อสู้อยู่ด้านหลัง วิธีแก้เบื้องต้นอาจจะกระทืบเท้าคู่ต่อสู้ ถ้าไม่รัดแขนให้ใช้ศอกตีหน้าคู่ต่อสู้ ใช้ท้ายทอยโขกหน้าคู่ต่อสู้ ถ้าจะใช้เทคนิคของวิชาป้องกันตัวให้ใช้มือจับหลังมือที่ข้อมือของคู่ต่อสู้ แล้วบิดตัวตะแคงเข้าหาให้หันข้างให้คู่ต่อสู้แล้วใช้ขาในเกี่ยวขาคู่ต่อสู้ ด้านในพร้อมกับใช้แขนดันหน้าโดยใช้แรงคู่ควบ
      2. ถ้าถูกล็อคคอด้านหลังให้ทุ่ม ข้างตัวไปตกที่พื้นด้านหน้า
      3. ถ้าถูกจับกอดบีบคอโดยคู่ต่อสู้อยู่ด้านหน้า วิธีแก้แบบง่ายๆ ให้เอาฝ่ามือประกบกัน แล้วสอดเข้าระหว่างแขนคู่ต่อสู้และยกขึ้นทั้งเข่าตีไปที่จุดอันตรายระหว่าง ขาของคู่ต่อสู้หรือแก้โดยใช้มือข้างใดข้างหนึ่ง จับข้อมือคู่ต่อสู้ด้านบน พร้อมกับย่อตัวเล็กน้อย เพื่อให้เกิดน้าหนัก ถ่วงมืออีก ข้างหนึ่ง จับข้อมือต่อจากมือที่จับอยู่ก่อนแล้ว ล็อคแขนหนีบลาตัว ใช้หน้าท้องดันหักหน้าแขนคู่ต่อสู้
      4. ถ้าถูกจับข้อมือหรือล็อคแขนด้านข้างให้ใช้ทฤษฎีแบบวงกลม โดยเกร็งแขน
          แบบที่ 1 หักข้อมือเข้าหาลาตัว พร้อมกับหมุนเท้าหลังไปข้างหลังคู่ต่อสู้ พร้อมกับดันมือที่ถูกจับไปด้านหน้า
          แบบที่ 2 กางนิ้วมือออกเหวี่ยงแขนไปด้านหลังหมุนเป็นวงกลม บิดมือไปจับปลายแขนท่อนล่างของคู่ต่อสู้ที่จับเราอยู่ แล้วใช้มือข้างที่ไม่ถูกจับไปจับที่หลังมือคู่ต่อสู้ แล้วบิดกระดูกแขนคู่ต่อสู้พร้อมกับกดลง
ทักษะเบื้องต้นของการหลบหลีกและตอบโต้ระยะกลาง
      ถ้าคู่ต่อสู้ฟันด้วยมีด ดาบ หรือตีด้วย ไม้ในลักษณะตีเฉียงบริเวณทัดดอกไม้ วิธีหลบหลีกง่าย คือ ถอยให้พ้นระยะหรือฉากหนีออกให้พ้นระยะ หรือด้วยการสืบเท้าหน้าเข้าประชิดในขณะ คู่ต่อสู้เงื้อฟัน พร้อมกับใช้มือดันแขนท่อนบน แล้วใช้เข่ากระทุ้งไปบริเวณหน้าท้อง หรือลิ้นปี่หรือใช้แขนในล็อคคอ พร้อมกับก้าวเท้าหลังไปข้างหน้า หันหลังให้คู่ต่อสู้ ก้มตัวลงทุ่มคู่ต่อสู้ด้วยท่ากอดคอ ก็ได้ ถ้าคู่ต่อสู้ตีหรือฟันในลักษณะ ขนานพื้น ถ้าฟันหรือตีบริเวณคอ ให้ย่อตัวลงต่า (หลบต่า) หรือถอยให้พ้นระยะ ถ้าฟันหรือตีบริเวณลาตัว ให้ป้องกันโดยถอยให้พ้นระยะ เมื่อเลยตัวไปแล้ว ให้ สืบเท้าเข้าหาคู่ต่อสู้ทางตรง ใช้มือซ้ายล็อคคอ มือขวาจับข้อมือคู่ต่อสู้ แล้วใช้เท้าขวาถีบข้อพับขวาของคู่ต่อสู้
ทักษะเบื้องต้นของการหลบหลีกและตอบโต้ระยะไกล
      ถ้าคู่ต่อสู้ตีมาด้วยพลองหรืออาวุธ ที่คล้ายคลึงกันในลักษณะการตีตรงศีรษะ การป้องกันอาจจะฉากออกซ้ายขวา หรือถอยให้พ้นระยะแต่ทั้งสองกรณีนี้เป็นเพียงการหลบหลีกเท่านั้น การจะทาการตอบโต้ได้ต้องสืบเท้าเข้าใกล้ แล้วใช้การต่อย เตะ เข่า หรือทุ่ม ซึ่งจะทุ่มด้วยท่าอะไรก็ได้ เช่น ทุ่มด้วยสะโพก ทุ่มด้วยบ่าสอดขอเหวี่ยง สอดขาใน และเทคนิคการใช้สะโพกทุ่มทุกท่า เกี่ยวขาทาให้ล้มก็ได้
ถ้าตีในลักษณะเฉียง ให้ถอยพ้นระยะหรือเข้าประชิด แล้วแต่โอกาส
       การต่อสู้ในระยะไกล มักจะใช้อาวุธยาว ประเภทไม้พลอง หอก จอบ เสียม พลั่ว ลักษณะการทาอันตรายมักจะเป็นการตี แทง หวด ฟาด แล้วแต่ชนิดของอาวุธ การป้องกันขึ้นอยู่กับการใช้อาวุธของคู่ต่อสู้ ซึ่งอาจจะใช้การถอยให้พ้นระยะ การหลบให้พ้นวิถี การเข้าประชิด เพื่อการตอบโต้ต่อไป
วิธีป้องกันตัวจากอาวุธอื่น ๆ จากเหตุการณ์ในลักษณะและรูปแบบต่าง ๆ
      การป้องกันตัวจากอันตราย ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในลักษณะและรูปแบบต่าง ๆ นั้น อาจจะมีมากมายหลายรูปแบบต่าง ๆ และอาวุธที่คู่ต่อสู้จะทาอันตรายก็อาจจะมีหลายอย่าง เป็นต้นว่า ส้อม มีดบาง มีดพับ ทัพพี ตะหลิว เคียว ขวาน ค้อน ไขควง เหล็กขูดชาร์ฟ สายไฟ เชือก ฯลฯ วิธีป้องกันตัวจากอาวุธเหล่านี้ ก็ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ อาวุธ สิ่งแวดล้อม และความสามารถของผู้ป้องกันตัว เช่น การป้องกันการถูกมัดหรือรัดด้วยเชือก ให้พยายามหลีกเลี่ยง เพื่อมิให้ถูกกระทาโดยการหลบหลีกปัดป้อง และหาหนทางตอบโต้ โดยใช้เชือกนั้น ให้เป็นประโยชน์กับตัวเอง
      การป้องกันอาวุธประเภทอาวุธในครัวเรือนนั้น ให้รีบหาอุปกรณ์อื่น ๆ เท่าที่หาได้ มาเป็นเครื่องกาบัง เช่น เขียง กระทะ ถาด ถังน้า ฯลฯ


วิธีป้องกันตัวจากอาวุธปืนจากเหตุการณ์ในลักษณะและรูปแบบต่าง ๆ
      ถ้าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยคู่ต่อสู้จะทาอันตรายโดยการใช้ปืน และอยู่ในระยะไกล คือระยะตั้งแต่ 7 หลา ขึ้นไป วิธีป้องกันให้ย่อตัวลง แล้วม้วนตัวหนี อย่าให้เป็นเป้านิ่ง ถ้าระยะ 7 หลา ลงมา ซึ่งเป็นระยะที่อันตรายที่สุด การป้องกันอันตรายจากอาวุธปืนในระยะนี้ หนทางที่จะป้องกันตัวได้ คือ ให้รีบเข้าประชิดให้เร็วที่สุดก่อนที่คู่ต่อสู้พร้อมที่จะใช้อาวุธ หรือรีบพุ่งตัวเข้าหาที่กาบัง ที่ปลอดภัย
      ถ้าถูกจี้ด้วยปืนด้านหน้าระยะประชิด บริเวณคอหอย ซึ่งการจี้นั้นคู่ต่อสู้มักจะใช้มือ อีกข้างหนึ่งจับหัวไหล่หรือจับเสื้อ วิธีป้องกันตัว ให้เงยหน้า ยกคาง แอ่นตัวไปด้านหลัง พร้อมกับ ใช้มือตบข้อศอกคู่ต่อสู้ จากข้างล่าง เพื่อให้ปลายกระบอกปืนชี้ขึ้นข้างบน พร้อมกับก้าวเท้าขวาตัดผ่านไประหว่างขาของเรา และคู่ต่อสู้ พร้อมกับใช้มือขวาจับข้อมือที่สันปืน ดันให้ปลายกระบอกปืนชี้ขึ้นด้านบน หมุนตัวหันข้างให้คู่ต่อสู้ แล้วทุ่มลงด้วยท่าขวางตัว (คล้ายกับท่าทุ่มด้วยสะโพก) พร้อมใช้ศอกซ้ายทาอันตรายคู่ต่อสู้บริเวณหว่างขา เมื่อคู่ต่อสู้ลงสู่พื้นแล้ว ให้บิดแขนแย่งปืนออก
วิธีป้องกันตัวจากอาวุธไม้ ดาบ จากเหตุการณ์ในลักษณะและรูปแบบต่าง ๆ
      ถ้าเหตุการณ์เกิดขึ้นในสถานที่ซึ่งมีสิ่งกีดขวางมาก การที่คู่ต่อสู้ใช้ไม้หรือดาบทาอันตรายนั้นสามารถจะป้องกันได้ง่าย และปลอดภัยกว่าสถานที่กว้าง และโล่งแจ้ง โดยใช้วัสดุที่หาได้ง่าย เช่น เก้าอี้ ขาโต๊ะ ของใช้อื่น ๆ ที่พอหาได้ โดยใช้รับ ปัด เพื่อป้องกันการตี การฟัน หรือจะป้องกันโดยการ
หลบบังเสา ตู้ โต๊ะ เมื่อคู่ต่อสู้ตี หรือฟันมา และเราสามารถหลบหลีกได้แล้ว ให้รีบฉวยโอกาสเข้าทาอันตรายตอบโต้ ด้วยวิธีต่าง ๆ หรือเข้าแย่งชิงอาวุธโดยเร็ว
       ถ้าเป็นสถานที่โล่งแจ้ง ไม่สามารถจะหาที่กาบังตัวได้ ก็ให้ใช้วิธีการถอยให้พ้นระยะ การฉากให้พ้นวิถี การเข้าประชิดตัวเพื่อตอบโต้ ด้วยการใช้ หมัด เท้า เข่า ศอก ทาอันตรายคู่ต่อสู้ และแย่งชิงอาวุธต่อไป